วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

รัฐสภาไทย

รัฐสภาไทย


รัฐสภาไทย

ประเภท สภาคู่

สภา วุฒิสภาไทย

สภาผู้แทนราษฎรไทย

ประธานรัฐสภา ชัย ชิดชอบ

รองประธานรัฐสภา สมาชิกวุฒิสภา ประสพสุข บุญเดช

สมาชิก 630 คน

สมาชิกวุฒิสภา 150 คน

ผู้แทนราษฎร 480 คน

สถานที่ประชุม อาคารรัฐสภาไทย เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

เว็บไซต์ www.parliament.go.th





ห้องประชุมรัฐสภาไทยรัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสถาบันที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานอำนาจให้เป็นผู้ออกกฎหมายสำหรับการปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติให้รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกัน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา โดยตำแหน่ง



เนื้อหา [ซ่อน]

1 ประวัติรัฐสภาไทย

2 ประธานรัฐสภาไทย

3 อาคารรัฐสภาแห่งใหม่

4 ดูเพิ่ม

5 แหล่งข้อมูลอื่น

6 อ้างอิง



[แก้] ประวัติรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา



ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน



ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย



สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ



หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง

หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา

หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา

สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา



[แก้] ประธานรัฐสภาไทย

ดูบทความหลักที่ รายนามประธานรัฐสภาไทย

จนถึงปัจจุบัน รัฐสภาไทย มีผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา รวม 28 คน ดังนี้



1. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร

28 มิถุนายน - 1 กันยายน 2475

15 ธันวาคม 2475 - 26 กุมภาพันธ์ 2476

2. เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร

2 กันยายน 2475 - 10 ธันวาคม 2476

3. พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (พลเรือตรี กระแส ประวาหะนาวิน)

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร

26 กุมภาพันธ์ 2476 - 22 กันยายน 2477

6 กรกฎาคม 2486 -24 มิถุนายน 2487

ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา

31 สิงหาคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2490

15 พฤษภาคม 2490 - 8 พฤศจิกายน 2490

4. เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร

22 กันยายน 2477 - 15 ธันวาคม 2477

17 ธันวาคม 2477 - 31 กรกฎาคม 2478

7 สิงหาคม 2478 - 31 กรกฎาคม 2479

ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา

26 พฤศจิกายน 2490 - 18 กุมภาพันธ์ 2491

20 กุมภาพันธ์ 2491 - 14 มิถุนายน 2492

15 มิถุยายน 2492 - 20 พศจิกายน 2493

22 พฤศจิกายน 2493 - 29 พฤศจิกายน 2494

5. พระยามานวราชเสวี (วิเชียร ณ สงขลา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร

3 สิงหาคม 2479 - 10 ธันวาคม 2480

10 ธันวาคม 2480 -24 มิถุนายน 2481

28 มิถุยายน 2481 - 10 ธันวามคม 2481

12 ธันวาคม 2481 - 24 มิถุนายน 2482

28 มิถุนายน 2482 - 24 มิถุนายน 2483

1 กรกฎาคม 2483 - 24 มิถุนายน 2484

1 กรกฎาคม 2484 - 24 มิถุนายน 2485

30 มิถุนายน 2485 - 24 มิถุนายน 2586

2 กรกฎาคม 2487 - 24 มิถุนายน 2488

29 มิถุนายน 2488 - 15 ตุลาคม 2488

26 มกราคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2489

6. พันตรีวิลาศ โอสถานนท์ ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา

4 มิถุนายน 2489 - 24 สิงหาคม 2489

7. พลเอก พระประจนปัจนึก (พุก มหาดิลก) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร

1 ธันวาคม 2494 - 17 มีนาคม 2495

22 มีนาคม 2495 - 23 มิถุนายน 2495

28 มิถุนายน 2495 -23 มิถุนายน 2496

2 กรกฎาคม 2496 - 23 มิถุนายน 2497

29 มิถุนายน 2497 - 23 มิถุนายน 2498

2 กรกกาคม 2498 - 23 มิถุนายน 2499

30 มิถุนายน 2499 - 25 กุมภาพันธ์ 2500

16 มีนาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2500

28 มิถุนายน 2500 - 16 กันยายน 2500

27 ธันวาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2501

25 มิถุนายน 2501 - 20 ตุลาคม 2501

8. พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ์ สุทธิสารรณกร)

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร

20 กันยายน 2500 - 14 ธันวาคม 2500

ประธานรัฐสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ

6 กุมภาพันธ์ 2502 - 17 เมษายน 2511

9. นายทวี บุณยเกตุ ประธานรัฐสภา และประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ

8 พฤษภาคม2511 -20 มิถุนายน 2511

10. พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา

22 กรกฎาคม 2511 - 6 กรกฎาคม 2514

7 กรกฎาคม 2514 - 17 พฤศจิกายน 2514

11. พลตรีศิริ สิริโยธิน ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

18 ธันวามคม 2515 - 11 ธันวาคม 2516

12. พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

29 ธันวาคม 2516 -7 ตุลาคม 2517

13. นายประภาศน์ อวยชัย ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

17 ตุลาคม 2517 - 25 มกราคม 2518

14. นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร

7 กุมภาพันธ์ 2518 -12 มกราคม 2519

15. นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร

19 เมษายน 2519 - 6 ตุลาคม 2519

6 กุมภาพันธ์ 2544 - 5 มกราคม 2548

16. พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและประธานรัฐสภา

22 ตุลาคม 2519 - 20 พฤศจิกายน 2519

17. พลอากาศเอก หะริน หุงสกุล

ประธานรัฐสภา และประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

28 พฤศจิกายน 2519 - 20 ตุลาคม 2520

ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

25 พฤศจิกายน 2520 - 22 เมษายน 2522

ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา

9 พฤษภาคม 2522 - 19 มีนาคม 2526

18. นายจารุบุตร เรืองสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา

26 เมษายน 2526 - 19 มีนาคม 2527

19. ศาสตราจารย์อุกฤษ มงคลนาวิน

ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา

30 เมษายน 2527 - 30 เมษายน 2528

1 พฤษภาคม 2528 - 23 เมษายน 2530

24 เมษายน 2530 - 22 เมษายน 2532

3 เมษายน 2335 - 26 พฤษภาคม 2535

ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

2 เมษายน 2534 - 21 มีนาคม 2535

20. ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา

4 พฤษภาคม 2532 - 23 กุมภาพันธ์ 2534

21. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา

28 มิถุนายน 2535 - 29 มิถุนายน 2535

22. ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร

22 กันยายน 2535 - 19 พฤษภาคม 2538

23. นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร

11 กรกฎาคม 2538 27 กันยายน 2538

24. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร

24 พฤศจิกายน 2539 - 27 มิถุนายน 2543

25. นายพิชัย รัตตกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร

30 มิถุนายน 2543 - 9 พฤศจิกายน 2543

26. นายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร

8 มีนาคม 2548 - 24 กุมภาพันธ์ 2549

27. นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร

23 มกราคม 2551 - เมษายน 2551

28. นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร

15 พฤษภาคม 2551 - (ปัจจุบัน)

[แก้] อาคารรัฐสภาแห่งใหม่

วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ อนุมัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2552 เป็นเงิน 12,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บนพื้นที่ 119 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านเกียกกาย โดยจะต้องย้ายหน่วยราชการที่อยู่ในบริเวณนั้น ประกอบด้วย โรงเรียนโยธินบูรณะ โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ช่างกล ขส.ทบ. และบ้านพักข้าราชการหทาร กรมราชองครักษ์ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553



โดยจะใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิน 900 วัน โดยคาดว่าจะเสร็จในต้นปี พ.ศ. 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น